ข้อแนะนำการสร้าง MOOC: กรณี Northwestern University
วันที่ 13/07/2017
Coordinated Services Center (CSC) ของ Northwestern University (NU) เสนอข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับการสร้างหลักสูตรออนไลน์ระบบเปิดที่รองรับการเรียนจำนวนมาก (Massive Open Online Courses: MOOCs) โดยข้อแนะนำเหล่านี้ได้จากการพิจารณา MOOCs ของสถาบันอื่นๆ การพูดคุยกับภาคเอกชน และประสบการณ์ของ School of Continuing Studies และ Academic Technologies and Searle Center for Advancing Learning and Teaching ของ NU
โครงสร้างหลักสูตรโดยทั่วไป
เพื่อที่จะรักษาผู้เรียนจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ MOOC ควรจะสอนในช่วงระยะเวลาสั้น CSC แนะนำว่า MOOC ควรใช้ระยะเวลาการนำเสนอประมาณ 8 สัปดาห์ ซึ่งช่วงเวลาประมาณ 8 สัปดาห์ เหมาะกับการเสนอเนื้อหาสำคัญ และผู้เรียนเองก็ไม่รู้สึกว่าเป็นภาระมากเกินไป ทั้งนี้ระยะเวลาอาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาและการออกแบบ อย่างไรก็ตาม MOOC ของหน่วยงานอื่นๆ ภายนอก NU จะมีความยาวประมาณ 6-12 สัปดาห์
แต่ละสัปดาห์ของ MOOC ประกอบด้วยบทเรียน 1 หัวข้อที่มีการระบุผลลัพธ์การเรียนรู้
ทรัพยากรการเรียนรู้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลาสำหรับผู้เรียนทั่วโลก โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องโซนเวลาหรือตารางเวลาส่วนตัวของผู้เรียนแต่ละคน
MOOC ถูกออกแบบตามขั้นตอนการออกแบบการเรียนการสอนและฟังก์ชั่นหลักสูตรภายใต้กระบวนการการประกันคุณภาพ
การสื่อสารกับผู้เรียนควรมีความชัดเจนและสม่ำเสมอ ผู้สอนควรชัดเจนเกี่ยวกับความคาดหวังของตนเองและการกำหนดความคาดหวังของผู้เรียนแต่ละหลักสูตร โดยผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะออกจากหลักสูตรถ้ามีความสับสน
หลักสูตรและผู้สอนส่งเสริมและช่วยให้การเกิดชุมชนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมต่อกับผู้เรียนคนอื่นๆ และวัสดุการเรียนการสอนอื่นๆ ของหลักสูตร
การเรียนการสอนโดยตรง
การเรียนการสอนโดยตรงที่มีประสิทธิภาพอาจจะเสนอผ่านวิดีโอสั้น (ความยาวสูงสุด 10-12 นาที) ร่วมกับทรัพยากรอื่นๆ ของหลักสูตรที่ให้บริการผ่านเว็บลิงค์ นอกจากนี้คณะควรจัดทำรายการการอ่านเพื่อเสนอสิ่งที่จำเป็นหรือแนะนำให้อ่าน เอกสารประกอบคำบรรยายก็อาจใช้สำหรับการเรียนการสอนโดยตรงด้วยเช่นกัน ฟังก์ชั่นประกาศของ Coursera สามารถนำมาใช้เพื่อแจ้งเตือนเรื่องตารางเวลาการเรียนการสอน อีกทั้งยังสามารถใช้เพื่ออธิบาย ชี้แจง หรือสรุปหัวข้อหลักสูตรการเรียนการสอน
การปฏิบัติและการมีส่วนร่วม
หัวข้อการอภิปรายสามารถนำมาใช้เพื่อการมีส่วนร่วมของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ในแต่ละสัปดาห์อาจมีการสื่อสารบนกระดานอภิปรายเกี่ยวกับแนวคิดหลักของหลักสูตร กระดานอภิปรายเหล่านี้ถูกเน้นกรณีศึกษา ปัญหา หรือคำถามที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน นอกจากนี้กระดานอภิปรายควรอนุญาตให้ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันความคิดและอภิปราย
ฟังก์ชั่นอื่นๆ สามารถใช้ตามความเหมาะสม เช่น Twitter hash tag และ Blog ขณะที่ส่วนโต้ตอบที่ซับซ้อนมากขึ้นนอกจากนี้อาจได้รับการพัฒนาขึ้นอยู่กับทรัพยากร
การประเมินผลการเรียน
การประเมินภายใน MOOCs ต้องรองรับผู้เรียนจำนวนมากและควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนที่ระบุ เช่นเดียวกับวิธีการและกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งหมด
การประเมินผลการเรียนแนะนำให้ประยุกต์ใช้การประเมินผลทั้งแบบ Formative และ Summative โดยการประเมินแบบ Formative เพื่อโปรโมทการเรียนรู้เชิงลึกขึ้น การคิดเชิงวิเคราะห์ และการสะท้อน (Reflection) อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยพัฒนาปรับปรุงผู้เรียน ขณะที่การประเมินแบบ Summative เพื่อวัดความสำเร็จ ในรูปของผลการเรียน เกรด หรือคะแนนของผู้เรียน
การประเมินแบบ Formative อาจใช้เอกสารการสะท้อนที่ไม่คิดเกรด แบบทดสอบที่สามารถทำซ้ำได้ การตอบสนองบนกระดานอภิปราย รวมถึงการประเมินตนเอง ซึ่งเป็นช่องทางเพื่อช่วยพัฒนาปรับปรุงหรือระบุช่องว่างและจุดอ่อนของผู้เรียน ขณะที่การประเมินแบบ Summative อาจใช้แบบทดสอบ รายงาน หรือโครงการที่ให้เกรด ทั้งนี้หลักเกณฑ์การประเมินควรชัดเจน โปร่งใส และให้ผู้เรียนได้รู้หลักเกณฑ์การประเมินล่วงหน้า นอกจากนี้การประเมินแบบ Summative ควรมีช่วงเวลาของการประเมิน และหลังจากช่วงเวลาประเมิน ควรแจ้งคำตอบและคำอธิบายให้ผู้เรียนทราบ
การประเมินความสำเร็จของ MOOC
MOOC ควรได้รับการพิจารณาว่าประสบความสำเร็จถ้า:
- มันชักชวนและยังคงมีผู้เรียนจำนวนมากเข้าร่วมและสนใจ
- เมื่อทำกิจกรรมจนจบหลักสูตร ผู้เรียนมีผลการประเมินแบบ Summative assessment ที่ดี
- มีประสบการณ์เพียงไม่กี่เรื่องเกี่ยวกับการไม่มีเทคโนโลยี
- ผู้เรียนให้การตอบสนองที่ดีในการสำรวจท้ายหลักสูตร
- อาจารย์ผู้สอนรู้สึกว่ามันเป็นประสบการณ์การเรียนการสอนและการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
ลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์และประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ ที่มักจะเกิดขึ้นใน 2 บริบท:
การใช้งานที่เหมาะสมและการได้รับอนุญาตใช้วัสดุที่มีอยู่ก่อน (ภาพ, วิดีโอ, ข้อความ, ฯลฯ ) ภายใน MOOC
ความเป็นเจ้าของของวัสดุ MOOC ที่สร้างขึ้นมาใหม่
แต่ละ MOOC มีแนวโน้มที่จะมีบริบทและความต้องการที่แตกต่าง ซึ่งจำเป็นต้องระบุกระบวนการและประเด็นทางทรัพย์สินทางปัญญาเป็นกรณีกรณีไป
เวลาและการสนับสนุน
อาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่พบว่าตนเองใช้เวลาเป็นจำนวนมากมากกว่าที่คาดไว้เพื่อการพัฒนาและการส่งมอบ MOOC อาจารย์บางคนประเมินเวลา 150-200 ชั่วโมงในการพัฒนา MOOC ในบางกรณีโรงเรียนได้จัดให้มีช่วงเวลาเพิ่มเติมหรือผู้ช่วยสอนมาสนับสนุนการพัฒนาและการส่งมอบ MOOC ของอาจารย์
ข้อแนะนำที่ NU เสนอนั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้น ยังมีปัจจัยหลายประเด็นที่ควรพิจารณาประกอบตามความเหมาะสม บนพื้นฐานความต้องการของผู้เรียน วัตุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการ รวมถึงข้อจำกัดของทรัพยากรของแต่ละหน่วยงานที่พัฒนา
ที่มาข้อมูล:
Northwestern University. (n.d.). MOOC creation guidelines. Retrieved March 15, 2015, from http://www.northwestern.edu/provost/initiatives/online-and-blended-learning/MOOC_Creation_Guidelines.pdf